การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

0

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและรูปแบบของสภาพอากาศในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่ตั้งแต่ปี 1800 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์โดยส่วนใหญ่ สาเหตุหลักมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ) ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

ต้นเหตุ

การผลิตพลังงานกระบวนการผลิตไฟฟ้าและความร้อนด้วยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ จะก่อมลพิษปริมาณมาก ไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงผลิตด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล และมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ผลิตด้วยพลังงานลม แสงอาทิตย์ และทรัพยากรหมุนเวียนดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตพลังงานได้ที่ thailand.un.orgการผลิตสินค้าภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตล้วนปล่อยมลพิษ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อสร้างพลังงานสำหรับผลิตสินค้า เช่น ซีเมนต์ เหล็ก เหล็กกล้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก เสื้อผ้า และอื่นๆ นอกจากนี้การทำเหมืองแร่และกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ปล่อยก๊าซออกมาด้วยเช่นกันดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตสินค้าได้ที่ thailand.un.orgการตัดไม้ทำลายป่าการถางป่าเพื่อทำที่นาหรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ล้วนสร้างมลพิษ เพราะต้นไม้ที่ถูกตัดจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กักเก็บไว้ออกมา การทำลายป่าไม้ซึ่งเป็นเครื่องดูดซับมลพิษหลักจึงทำให้ธรรมชาติไม่อาจทำหน้าที่ปกป้องชั้นบรรยากาศได้อีกต่อไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าได้ที่ thailand.un.orgการขนส่งรถยนต์ รถบรรทุก เรือ และเครื่องบินส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้นการขนส่งจึงนับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานพาหนะบนท้องถนนปล่อยมลพิษมากที่สุด ตามมาด้วยเรือและเครื่องบินที่มีการปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งได้ที่ thailand.un.orgการผลิตอาหารการผลิตอาหารต้องใช้พลังงานมาขับเคลื่อนเครื่องจักรทางการเกษตรหรือเรือประมง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปุ๋ยที่ใช้ในการเพาะปลูกสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ การทำปศุสัตว์ก็ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกอันตราย ส่วนบรรจุภัณฑ์อาหารและการจัดส่งก็ก่อมลพิษเช่นกันดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตอาหารได้ที่ thailand.un.orgการใช้พลังงานของอาคารบ้านเรือนอาคารบ้านเรือนทั่วโลกบริโภคไฟฟ้ามากกว่าครึ่งของไฟฟ้าทั้งหมด ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติคือเชื้อเพลิงในการทำความร้อนและความเย็นอย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาลดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พลังงานของอาคารบ้านเรือนได้ที่ thailand.un.orgการบริโภคเกินจำเป็นบ้านของคุณ การใช้พลังงาน การเดินทาง สิ่งที่คุณรับประทาน ขยะที่คุณทิ้ง ทั้งหมดล้วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกด้วยกันทั้งสิ้น เช่นเดียวกับการใช้สินค้าต่างๆ อย่างเสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และพลาสติกดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริโภคเกินจำเป็นได้ที่ thailand.un.org

การดำเนินการ

จาก แคมเปญ ActNow ขององค์การสหประชาชาติทุกคนช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ ด้วยการเปลี่ยนวิธีเดินทาง เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออาหารที่บริโภค สิ่งเหล่านี้สร้างความแตกต่างได้ คุณสามารถเริ่มต้นจาก 10 ข้อนี้เพื่อช่วยกันลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านสภาพอากาศที่โลกของเรากำลังเผชิญเริ่มต้นประหยัดพลังงานจากที่บ้านไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ผลิตจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ดังนั้นคุณจึงช่วยโลกได้ด้วยการใช้พลังงานให้น้อยลง เช่น ลดการใช้เครื่องทำความร้อนและความเย็น, เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, ซักผ้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ หรือตากผ้าแทนการอบดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานจากที่บ้านได้ที่ thailand.un.orgเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ขนส่งสาธารณะถนนหนทางทั่วโลกคลาคล่ำไปด้วยยานพาหนะซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยการเผาไหม้น้ำมันดีเซลหรือเบนซิน การเดินหรือปั่นจักรยานแทนการขับรถจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยให้สุขภาพดีด้วย สำหรับการเดินทางระยะไกล ลองหันมาใช้รถไฟ รถประจำทาง หรือติดรถไปกับผู้อื่นหากทำได้ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ขนส่งสาธารณะได้ที่ thailand.un.orgหันมารับประทานผักคุณสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมากด้วยการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืชให้มากขึ้น ลดการรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะโดยทั่วไปการปลูกพืชจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า และใช้พลังงาน พื้นดิน และน้ำในการผลิตน้อยกว่าดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหันมารับประทานผักได้ที่ thailand.un.orgเปลี่ยนวิธีการเดินทางเครื่องบินเป็นยานพาหนะที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก ทำให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากตามไปด้วย ดังนั้น การขึ้นเครื่องบินให้น้อยลงจึงเป็นวิธีลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เร็วที่สุดวิธีหนึ่ง ลองใช้วิธีพบกันทางออนไลน์ เดินทางด้วยรถไฟ หรือเลี่ยงการเดินทางไกลไปเลยดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนวิธีการเดินทางได้ที่ thailand.un.orgทิ้งอาหารให้น้อยลงทุกครั้งที่คุณทิ้งอาหาร คุณกำลังทิ้งทรัพยากรและพลังงานซึ่งใช้ในการปลูก ผลิต บรรจุ และขนส่งอาหารเหล่านั้นไปโดยเปล่าประโยชน์ อาหารที่เน่าเสียอยู่ในหลุมฝังกลบก็จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกอันตราย ดังนั้นเราจึงควรบริโภคสิ่งที่ซื้อมาให้หมด และนำส่วนที่เหลือมาทำปุ๋ยดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดขยะอาหารได้ที่ thailand.un.orgลด ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม และรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า และอื่นๆ ที่เราซื้อต่างก็ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในจุดใดจุดหนึ่งของกระบวนการผลิต ตั้งแต่การสกัดวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงการขนส่งสินค้าไปยังตลาด ดังนั้นคุณจึงสามารถปกป้องสภาพอากาศของเราได้ด้วยการซื้อให้น้อยลง ใช้ของมือสอง ซ่อมสิ่งที่ชำรุดหากทำได้ และรีไซเคิลดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลด ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม และรีไซเคิลได้ที่ thailand.un.orgเปลี่ยนแหล่งพลังงานในบ้านสอบถามหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคว่าบ้านของคุณใช้พลังงานที่มาจากแหล่งใด และสามารถเปลี่ยนมาใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เช่น พลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ แทนได้หรือไม่ หรือลองติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงานเองดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งพลังงานภายในบ้านได้ที่ thailand.un.orgเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้าหากคุณมีแผนที่จะซื้อรถยนต์ ลองพิจารณารถยนต์ไฟฟ้าซึ่งในตลาดกำลังจะมีหลายรุ่นที่ราคาถูกลง แม้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็ยังช่วยลดมลพิษทางอากาศและทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ายานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยดีเซลหรือแก๊สเป็นอย่างมากดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้าได้ที่ thailand.un.org

ผลกระทบ

จาก องค์การสหประชาชาติอุณหภูมิที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะทำให้สภาพอากาศและสมดุลทางธรรมชาติแปรปรวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งหมดบนโลกอุณหภูมิสูงขึ้นเกือบทุกภูมิภาคบนโลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนมากขึ้นในขณะที่วันซึ่งอากาศร้อนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปี 2020 เป็นปีที่อากาศร้อนที่สุดในประวัติการณ์ อุณภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความร้อน และทำให้การทำงานหรือการเดินทางลำบากขึ้น ไฟป่าก็จะเกิดง่ายขึ้นและลุกลามเร็วกว่าเดิมดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ที่ thailand.un.orgพายุรุนแรงขึ้นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิส่งผลต่อปริมาณฝน โดยทำให้เกิดพายุที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและชุมชน คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุที่รุนแรงได้ที่ thailand.un.orgภัยแล้งสาหัสขึ้นหลายภูมิภาคเริ่มขาดแคลนน้ำ ความแห้งแล้งจะยิ่งทำให้พายุฝุ่นและพายุทรายรุนแรงมากขึ้นจนอาจพัดพาทรายปริมาณหลายพันตันข้ามทวีปได้เลย ทะเลทรายที่ขยายตัวทำให้พื้นที่ในการเพาะปลูกลดลง ผู้คนมากมายไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภัยแล้งที่เพิ่มขึ้นได้ที่ thailand.un.orgน้ำทะเลร้อนและสูงขึ้นมหาสมุทรต้องดูดซับความร้อนส่วนใหญ่อันเกิดจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้น้ำแข็งละลายและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นภัยต่อชุมชนริมชายฝั่งและบนเกาะต่างๆ นอกจากความร้อน มหาสมุทรยังต้องดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ จนทำให้น้ำทะเลเป็นกรดและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุณหภูมิและปริมาณน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้นได้ที่ thailand.un.orgสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งบนบกและในน้ำ ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ภัยธรรมชาติก็ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะไฟป่า สภาพภูมิอากาศที่สุดขั้ว หรือการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืชและโรคระบาด สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจย้ายถิ่นอาศัยเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่บางชนิดก็ไม่สามารถทำได้ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตได้ที่ thailand.un.orgอาหารขาดแคลนสภาพอากาศที่แปรปรวนและรุนแรงซ้ำเติมปัญหาความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อการประมง การเพาะปลูก และปศุสัตว์ เพราะความร้อนทำให้แหล่งน้ำแห้งและพื้นที่ทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ลดลงดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารและเกษตรกรรมได้ที่ thailand.un.orgปัญหาสุขภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น เช่น โรคมาลาเรีย ส่งผลให้ผู้คนเจ็บป่วยเสียชีวิตจำนวนมากจนระบบสุขภาพไม่อาจรองรับได้ ส่วนในพื้นที่ที่ไม่สามารถเพาะปลูกหรือหาอาหารได้เพียงพอ ผู้คนก็ต้องเผชิญผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่นด้วย เช่น ความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นได้ที่ thailand.un.orgความยากจนและการพลัดถิ่นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นตัวกระตุ้นปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจน เช่น อุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่ชุมชนแออัดในตัวเมือง บ้านเรือน ตลอดจนชีวิตของผู้คน และความร้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานกลางแจ้ง ภัยพิบัติที่เกิดจากความร้อนทำให้ในแต่ละปีมีผู้คนต้องพลัดถิ่นถึง 23 ล้านคน และอีกนับไม่ถ้วนต้องเผชิญความยากจนดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความยากจนและการพลัดถิ่นได้ที่ thailand.un.org

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า