AIS ร่วมมือตำรวจไซเบอร์ ดึง 3 ค่ายละครโซเชียลผลิต 12 ละครคุณธรรม ตีแผ่คดีดัง

AIS อุ่นใจได้เผยถึงความร่วมมือกับตำรวจไซเบอร์ สร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์ให้กับคนไทยผ่านการผลิตละครคุณธรรม 12 เรื่องที่มีเนื้อหาอ้างอิงมาจากคดีดังที่พบเจอกันประจำ โดยมีค่ายละครโซเชียล ทั้ง 3 ค่ายมาร่วมซัพพอร์ตด้วย

ปัจจุบันภัยออนไลน์มีหลายรูปแบบ และจากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) กลุ่มที่มักจะเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพนั้นก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีมีสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา พูดง่าย ๆ คือสื่อที่กลุ่มเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จะเป็นในรูปแบบละครมากกว่า

ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง AIS อุ่นใจเองก็ได้มีการไปร่วมมือกับบริษัทเกี่ยวกับสื่อบันเทิงหลาย ๆ สื่อที่ทำ COMIC อย่างจอยลดา หรือ ขายหัวเราะ เพื่อผลิตสื่อในรูปแบบการ์ตูน เข้าถึงกลุ่มอื่น ๆ ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน

สำหรับการแก้ปัญหาภัยออนไลน์ ทางตำรวจไซเบอร์เองก็ได้ร่วมแก้ปัญหาด้วยการให้ความสำคัญเชิงป้องกัน สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนให้เข้าใจ รู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์ ทั้งนี้ AIS ยังได้ดึง 3 ค่ายละครโซเชียล ได้แก่ กุลิฟิล์ม ทีแก๊งค์ และทีมสร้างฝัน มาร่วมผลิต 12 ละครคุณธรรม

โดย 12 ละครคุณธรรม นี้ได้นำคดีภัยไซเบอร์ดัง โดยคัดเลือกจากคดีที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุดก่อน ซึ่งจะตีแผ่กลลวงต่าง ๆ ที่มิจฉาชีพพร้อมวิธีรับมือไว้ และปรุงเนื้อเรื่องให้เข้มข้น เข้าใจ และเข้าถึงง่ายในทุกเพศทุกวัย

สามารถติดตามชมละครคุณธรรม ทั้ง 12 ตอน ซึ่งสอดแทรกการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพพร้อมวิธีการรับมือ ได้ผ่านช่องทาง Social Media ของทั้ง 3 ค่ายละครคุณธรรม และช่องทาง LearnDi ได้ที่นี่ และช่องทางอื่น ๆ ดังนี้ กุลิฟิล์ม , ทีแก๊งค์, ทีมสร้างฝัน

ตัวอย่างคดีดังที่ถูกนำมาแปลงเป็นละคร

1.หลอกซื้อของออนไลน์

วิธีที่คนร้ายทำ : คนร้ายจะสร้างเพจปลอมที่ถอดแบบจากเพจจริงขึ้นมา จากนั้นนำสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการจากเพจจริงมาโพสต์ขาย
และหลอกล่อให้ลูกค้าหลงเชื่อและซื้อสินค้า โดยจะให้ลูกค้าโอนเงินไปยังบัญชีม้าที่อ้างว่าเป็นบัญชีของทีมบริหาร

เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและได้โอนเงินไปยังบัญชีดังกล่าว ก็จะปิดเพจหนีไปเลย หรืออาจจะได้สินค้าที่ไม่ตรงปกและบล็อกช่องทางการติดต่อทุกทาง

2.หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม หลอกดูดเงินผ่านแอป

วิธีที่คนร้ายทำ : คนร้ายมักโทรมาหลอกลวงเหยือว่าตนเองเป็นหน่วยงานหรือองค์กรใหญ่ ๆ เช่น มาจากกระทรวงการคลังเพื่อทำการยกเลิกโครงการคนละครึ่ง, มาจากกรมที่ดินเพื่อให้จ่ายภาษีที่ดิน แต่ยกเลิกค่าภาษีได้ถ้าทำตามขั้นตอน, จากการไฟฟ้าเพื่อขอคืนเงินค่าประกันราคามิเตอร์ไฟฟ้า

ข้อสังเกต : คนร้ายมักจะถามชื่อสกุล รุ่นยี่ห้อของโทรศัพท์ที่เราใช้ เมื่อแน่ใจว่าโทรศัพท์ของเราเป็นระบบ Android ก็จะให้แอดเพิ่มเพื่อนใน LINE แล้วหลอกลวงให้คลิกลิงก์เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของหน่วยงานดังกล่าวที่เป็นเว็บไซต์ปลอม จากนั้นให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นปลอม โดยอ้างว่าให้ยื่นคำร้องผ่านแอปพลิเคชั่น

เมื่อเรากดติดตั้งแอปพลิเคชั่นดังกล่าวแล้ว โทรศัพท์จะโชว์การล็อกหน้าจอ เพื่อให้ผู้เสียหายกดปลดล็อกหน้าจอ แล้วก็จะขึ้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวรวมไปถึงให้ตั้งค่ารหัส PIN เพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน

3.หลอกให้ลงทุน

วิธีที่คนร้ายทำ : นอกจากนี้ยังมีมิจจาชีพที่มาในรูปแบบโฆษณาในเพจเฟชบุ๊คเพื่อชักชวนให้ลงทุน ทำให้ดูน่าเชื่อถือและหลงเชื่อว่ามีผลตอบแทนที่ดีและได้ให้ลูกเพจติดต่อทักทายไปยังแอดมิน และมีการแอดเป็นเพื่อนใน Line

หลังจากนั้นก็จะมีให้เปิดพอร์ตแบบระยะสั้น และให้โอนเงินครั้งแรกจำนวนน้อยๆก่อน และมีการเทรดทั้งหมดจำนวนหลาย ๆ รอบ ซึ่งในแต่ละรอบก็ให้โอนเงินเติมเข้าพอร์ตการลงทุนจากหลักพันบาทในครั้งแรก และค่อยๆให้โอนเพิ่มเติมไปยังหลักแสนบาท

จากนั้นก็จะแสดงผลกำไรและแจ้งกลับมาให้เราดีใจ ตื่นเต้น หลงเชื่อพอครบการเทรดตามจำนวนรอบ ผู้เสียหายก็จะต้องขอปิดบัญชีเพื่อดึงเงินกลับ จากนั้นมิจฉาชีพก็แจ้งว่าต้องเสียค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆเป็นเงินหลักแสนอีก ต่อให้โอนให้หรือไม่โอนเพิ่ม คนร้ายก็บล็อกและหนีอยู่ดี

4.คดีปลอมโปรไฟล์เพื่อหลอกยืมเงิน

วิธีที่คนร้ายทำ : คนร้ายจะแอบอ้างว่าเป็นคนรู้จัก โทรมาหลอกให้ทายชื่อ ให้เราเผลอพูดชื่อคนรู้จักไป แล้วสวมรอยเป็นคนนั้น จากนั้นบอกว่าโทรศัพท์หายเปลี่ยนเบอร์ใหม่ ให้เมมชื่อไว้หลังจากนั้นโทรมาวันหลังขอยืมเงิน

5.คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน

วิธีที่คนร้ายทำ : คนร้ายจะโฆษณาผ่านแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊กเกี่ยวกับแอฟพลิเคชั่นกู้เงินออนไลน์ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว
ทำให้ผู้เสียหายที่กำลังร้อนเงินสนใจและได้ทักไปเพื่อขอข้อมูล จากนั้นก็ได้ให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนไนไลน์ เพื่อสนทนากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ

จากนั้นคนร้ายก็จะหลอกให้ผู้เสียหายกดลิงก์เพื่อโหลดแอปพลิเคชั่นและสมัครใช้งาน และทำขั้นตอนเพื่อยืนยันตัวตน เช่น ให้ส่งภาพใบหน้าพร้อมบัตรประชาชน ชื่อสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เมื่อทำรายการในระบบของคนร้ายเสร็จสิ้น กลุ่มคนร้ายจะอ้างว่า ผู้เสียหายกรอกข้อมูลบัญชีผิด หรือ กดหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนผิด ต้องทำการโอนเงินก่อนเพื่อปลดล็อกระบบแล้วยอดเงินที่โอนจะคืนให้หลังจากอนุมัติสินเชื่อ

และจากนั้น ก็จะหลอกเรื่อยๆว่า ผู้เสียหายโอนเงินช้า ปลดล็อกไม่ทันในเวลาที่กำหนด หรือผู้เสียหายถ่ายรูปไม่ชัด ระบบล็อก ต้องโอนเงินเพื่อปลดล็อก

ทั้งนี้ทางตำรวจไซเบอร์ได้ย้ำเตือนอีกครั้ง ถึง 3 หัวใจหลักที่จะป้องกันภัยออนไลน์ คือ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน และถ้าหากโดนมิจฉาชีพหลอก สิ่งแรกที่ต้องทำคือ แจ้งมาที่ 1141 จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอดเวลา จากนั้นจะอายัธบัญชีธนาคารให้ได้ทันเวลา หรือว่าจะโทรหาสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center ลูกค้าสามารถแจ้งข้อมูลเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพได้ฟรี

ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์

You may have missed

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า