11 โครงการเทคโนโลยีล้ำ ๆ จาก กทปส. การตรวจอสุจิคนร้ายด้วย AI, ioT ระวังไฟป่าและ PM 2.5, หอฟอกอากาศอัจฉริยะ

กทปส. หรือ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้มอบทุนให้แก่นักวิจัย นักพัฒนาสำหรับทำโครงการต่าง ๆ และวันนี้ก็นำ 11 โครงการไฮไลต์แห่งปี 2566 ที่มีหลากหลายมิติที่มาจากทุนดังกล่าว นำมาพัฒนาเทคโนโลยีทั้งด้านการแพทย์, การศึกษา, สิ่งแวดล้อมและสังคมมาแสดงให้คนไทยได้ดูกันด้วย

1.โครงการส่งเสริมการอยู่ด้วยกันในพหุสังคม

อย่างที่รู้กันดีว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย หรือเป็นพหุสังคม มีหลายเชื้อชาติ ศาสนา วิถีชีวิต ซึ่งความแตกต่างก็อาจจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจกันในหลาย ๆ แง่มุม ทำให้ทางสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ร่วมกันสร้างแนวคิด Co – Creation ขึ้นมา และผลิตเป็นสารคดีชุด ” SOME ONE หนึ่งในหลาย” สามารถติดตามรับชมได้ผ่านทางช่อง Youtube เลย

2. โครงการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง

ปัจจุบันประเทศไทยยังมีอีกหลายพื้นที่บนพื้นที่สูงที่ไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตยังเข้าไม่ถึง ซึ่งเงินทุนที่ได้มานี้จะนำระบบไฟฟ้า, คอมพิวเตอร์ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดที่เด็ก ๆ ที่อยู่บนพื้นที่สูงนั้นจะได้มาจากแหล่งความรู้ออนไลน์ จากนั้นก็นำมาต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์กระจายสู่ชุมชน เด็กที่อยู่ในโครงการหลังจากที่เรียนจบตามหลักสูตรและมีองค์ความรู้มากพอแล้วนั้นก็จะนำไปสอนให้กับคนในชุมชนต่อไป

นำร่องใช้งานที่จังหวัดเชียงใหม่ก่อน และขยายผลที่จังหวัดตากต่อไป และที่น่าสนใจคือในโครงการนี้ได้ใช้ “ถ่านไม้ไผ่” ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า เป็นข้อดีอีกหนึ่งอย่างเพราะว่าในการใช้โซลาร์เซลล์บนพื้นที่ห่างไกลจะไม่ค่อยเสถียร

3. โครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม ioT สำหรับระวังไฟป่าและ PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยี LoRa

ไฟป่าเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ที่แก้ไขได้ยากมาก ๆ เนื่องจากว่าในป่าไม่มีไฟฟ้า, สัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณมือถือ ซึ่งนักพัฒนาก็ได้ใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า LoRa เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะไกลบนย่านความถี่ 920 – 925Mhz ใช้เป็นประโยชน์เวลาที่เกิดไฟป่า โดยใช้งานร่วมกับอุปกรณ์และมีรูปแบบการส่งสัญญาณแบบนี้

อันดับแรกจะใช้นำ Micro Sensor ไว้คอยตรวจจับละอองในแต่ละจุดที่อยู่ตามป่า จากนั้นจะส่งสัญญาณผ่าน LoRa แล้วข้อมูลก็จะไปขึ้นที่ www.วัดฝุ่น.ไทย และ www.hazemon.in.th รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา หรือกลุ่มอาจารย์เข้าไปโหลดข้อมูลมาต่อยอดทำวิจัยได้ด้วย และปัจจุบันได้ถูกใช้ในกรมอุทยาน, สถานีไฟป่า หรือชุมชนทางภาคเหนือ

ภายในบูธยังมีแง้มโปรเจกต์ถัดไป ที่พัฒนามาเพื่อพี่ ๆ ไรเดอร์ นั่นก็คือ เซนเซอร์วัดค่า PM 2.5 ซึ่งจะติดอยู่บนหมวกกันน็อค ซึ่งต้องรอติดตามในอนาคตว่าจะทำออกนาในทิศทางไหน

4. โครงการศึกษาหอฟอกอากาศอัจฉริยะ

โครงการนี้ก็ได้มุ่งเป้าหมายไปที่ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งก็ได้มีการนำทุนไปพัฒนาอุปกรณ์ที่ชื่อว่า หอฟอกอากาศอัจฉริยะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และควบคุมผ่านเทคโนโลยี IoT เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าวที่กำลังเป็นประเด็นใหญ่ที่เกิดขึ้นในตอนนี้

5. โครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและระบุตำแหน่งการเผาในที่โล่ง

การเผาในที่โล่ง อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 และ ฝุ่น PM 10 และถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีกฎหมายในเรื่องนี้ออกมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้อัตราการเผาในที่โล่งลดลง ทั้งนี้นักพัฒนาจึงได้ทำการแก้ปัญหาด้วยการใช้ ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและระบุการเผาในที่โล่ง ผ่านการใช้โครงข่ายสื่อสาร อุปกรณ์เซนเซอร์ และโดรน

อุปกรณ์ดังกล่าวจะแจ้งเตือนตำแหน่งการเผาแบบเรียลไทม์ และมีความแม่นยำ เพื่อระงับเหตุการณ์ได้ทันเวลา ตัวโดรนจะติดตั้งเซนเซอร์และกล้องจับภาพถ่ายความร้อน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่เข้าระบุตำแหน่งได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งใช้โครงข่ายสื่อสารบริเวณกว้างที่มีกำลังส่งต่ำเชื่อมโยงดาวเทียมและระบบวิเคราะห์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งความร้อนบนพื้นที่บริเวณกว้างได้

6. โครงการยกระดับการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์คดีความผิดทางเพศด้วย AI

โครงการนี้เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเป็นภัยแฝงที่อยู่ใกล้ตัวคนไทยมานาน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว การที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ต้องผ่านกระบวนการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติเวช ต้องใช้นิติวิทยาแพทย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาที่ขาดแคลน ทำให้การตรวจหลักฐานมีความล่าช้า ส่งผลกระทบต่อจิตใจผู้ถูกกระทำ

โครงการนี้ได้มีการคิดค้นการใช้ AI มาช่วยตรวจอีกทางนึง ซึ่งจะนำมาใช้ตรวจอสุจิของผู้ต้องสงสัย ทำให้สามารถช่วยให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามารถตรวจหลักฐานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ส่วรายละเอียดเพิ่มเติมจะมีการอธิบายเพิ่มในอีกบทความนึงค่ะ

7. โครงการพิพิธภัณฑ์แบบพกพา หาข้อมูลผ่านแอปได้

ในโครงการนี้จะเป็นโครงการที่มุ่งเน้นและผลักดันในการให้ความรู้ ประวัติความเป็นมา หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ซึ่งก็ได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการข้อมูลให้เข้าถึงได้ทุกเพศ ทุกวัย

ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพื่อวางแผนการท่องเที่ยว, เตรียมข้อมูลก่อนการท่องเที่ยว หรือ นักเรียนนักศึกษามี่ต้องการข้อมูลไปศึกษาต่อ ก็สามารถเข้าไปรับชมแบบออนไลน์ได้ที่ MuseumPool จะเข้าชมเป็นเว็บไซต์ หรือจะโหลดมาไว้บนมือถือก็ได้ โดยที่ตัวเว็บไซต์เองมีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และหนังสือเสียงให้แก่ผู้พิการทางสายตา หรือผู้สูงอายุที่จ้องตัวหนังสือไม่ไหวแล้ว

8. โครงการกระต่ายตื่นรู้ โดย GMM Grammy

โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งทุกวันนี้พวกอาหาร ยา เครื่องสำอาง เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อีกทั้งในยุคปัจจุบันเป็นยุคของสื่อดิจิทัล ทำให้การซื้อขายสินค้าเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายและไว แน่นอนว่าในการโฆษณาก็อาจจะมีการอ้างคุณสมบัติที่เกินจริง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ก่อให้เกิดผลเสียต่อรางกายและทรัพย์สินได้ ทาง GMM ที่ได้ผลิตรายการที่ชื่อว่า “กระต่ายตื่นรู้” ออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนนั่นเอง

9. โครงการฝึกอบรม Metaverse โลกเสมือนจริง สู่โลกที่สมจริง

โครงการนี้จะเป็นการนำเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) ซึ่งเป็นการจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา ผสมผสานกับ AR (Augment Reality) เทคโนโลยีจำลองภาพหรือวัตถุเสมือนจริง เพิ่มเข้าไปให้ออกมาเหมือนจริงมากที่สุด และ MR (Mixed Reality) ที่เป็นการรวม VR และ AR และมาฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาที่มีความสนใจเพื่อเตรียมเข้าสู่ยุค Metaverse

10. โครงการ STEMLAB ยกระดับห้องเรียนให้แก่เด็ก ๆ

โครงการ STEMLAB หรือ โครงการที่สร้างห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมขั้นสูงให้แก่นักเรียน โดยโครงการนี้จะเข้าไปสร้าง Makerspace ที่ประกอบไปด้วย เครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ, เครื่องพิมพ์ 3 มิติ,เครื่องตัดเลเซอร์, ชุดเครื่องมือบัดกรี, เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และชุดสื่อการสอนที่ออกแบบโดยเฉพาะในโครงการ ให้แก่โรงเรียน พร้อมจัดอบรมครูและบุคลากรไปในตัว

พูดง่าย ๆ คือ โครงการนี้จะนำอุปกรณ์และสื่อการสอนที่มีรายละเอียดข้อมูลชัดเจนไปติดตั้งให้แก่โรงเรียนในโครงการ เด็ก ๆ ที่มีความชอบจะได้ความรู้เฉพาะทางตั้งแต่อายุน้อย ๆ ซึ่งชุดอุปกรณ์เหล่านี้ โรงเรียนที่มีความพร้อมมีความสนใจก็สามารถโหลดเอกสารและซื้ออุปกรณ์จาดข้างนอกไปประกอบทำสื่อการสอนเองได้ด้วย

11. โครงการพัฒนาอุปกรณ์ ระบบติดตามทางการแพทย์ ช่วยเหลือผู้สูงอายุ

โครงการนี้เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจะบางทีจะไปหาหมอก็มักจะเจออุปสรรคทางด้านการเดินทาง, ควาหมนาแน่นของผู้ป่วยอื่น ๆ ในโรงพยาบาล ตลอดจนการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในการรักษาที่ค่อนข้างยุ่งยากมากเลยก็คือ การกายภาพนี่แหละ จึงทำให้โครงการนี้เป็นหนึ่งในตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ

โดยอุปกรณ์ที่อยู่ในโครงการก็จะมีทั้ง เครื่องวัดความดัน, เครื่องช่วยบริหารกล้ามเนื้อหายใจ, ระบบประมวลผลภาพสำหรับการวัดองศาการเคลื่อนที่ของไหล่, อุปกรณ์ช่วยบริหารข้อเข่า ซึ่งหลังจากวัดผลด้วยเครื่องเสร็จ ข้อมูลก็จะส่งตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์ หมอก็จะสามารถดึงข้อมูลมาดูได้อย่างต่อเนื่อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า