ดีอีเอส ออกกฎใหม่ ”ให้ผู้ประกอบการจดแจ้งแพลตฟอร์มดิจิทัลก่อนให้บริการ” หากฝ่าฝืนจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท

ดีอีเอส เร่งออกกฎหมายใหม่ บังคับให้ ‘ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล’ ข้ามาจดแจ้งการประกอบกิจการในประเทศไทย หากฝ่าฝืนถูกจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค. 66 นี้ เพื่อคุ้มครองประชาชน และลดการฉ้อโกงทางออนไลน์ พร้อมยืนยันไม่กระทบต่อแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ 

กฎหมาย DPS คืออะไร

“กฎหมาย Digital Platform Service หรือ กฎหมาย DPS”   มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมาซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566  ได้กำหนดหน้าที่ให้กับผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องปฏิบัติตามไว้หลายประการ โดยหน้าที่แรกที่สำคัญ

การมีหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ, ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ชื่อบริการ, ประเภทบริการ, ช่องทางการให้บริการ เป็นต้น ให้แก่สำนักงานฯ ทราบ  เพื่อให้ ETDA ได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีมาตรฐานการให้บริการที่น่าเชื่อถือ เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองดูแลผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้ดียิ่งขึ้น

ทำไมต้องบังคับจดแจ้งการประกอบกิจการในประเทศไทย ?

เพื่อเป็นกลไกในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีความโปร่งใส และมีแนวทางในการคุ้มครองเยียวยา แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างเป็นธรรม หลังจากในปีที่ผ่านมา มีการร้องเรียนเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม และถูกฉ้อโกงซื้อขายออนไลน์ กว่า 6 หมื่นเรื่อง นี่จึงเป้นการคุ้มครองผู้บริโภคและแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ไปในตัวด้วยค่ะ  

“เมื่อกฎหมายบังคับใช้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในไทย ต้องจดแจ้งกับทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ก่อนที่จะเริ่มประกอบธุรกิจ ส่วนผู้ที่ให้บริการอยู่ก่อนที่กฎหมายบังคับใช้ จะมีเวลา 90 วัน ที่ต้องมาจดแจ้งภายในวันที่ 18 พ.ย. 66 ไม่เช่นนั้นจะมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ”

ใครต้องจดบ้าง ?

  1. สำหรับเว็บไซต์และแพลตฟอร์มที่เข้าเกณฑ์ ต้องมาจดแจ้ง คือ เป็นพื้นที่ที่ให้คนซื้อขายมาเจอกัน มีการลงทะเบียนยูสเซอร์และมีผู้ใช้งานเกิน 5,000 คนต่อเดือน หากเป็นนิติบุคคลต้องมีรายได้เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และหากเป็นบุคคลทั่วไป ต้องมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยมีผู้ประกอบการเข้าข่ายต้องมาจดแจ้งประมาณ 1,000 ราย
  2. ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก ยูทูบ กูเกิล และผู้ให้บริการอีมาร์เกตเพลส เช่น ช้อปปี้ ลาซาด้า ผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขาย บ้าน รถยนต์ และอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับกลุ่มที่ไม่ต้องจดแจ้ง

สำหรับ ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และผู้ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องมาจดแจ้ง เป็นหน้าที่ของเจ้าของแพลตฟอร์มที่ต้องดำเนินการ และต้องมีการตั้งผู้ประสานงานในไทย และมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนกลางที่เกิดจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล หลังจากที่ผ่านมา มีกรณีไม่สามารถติดต่อผู้ให้บริการเหล่านี้ได้

 

ถือว่าเป็นการป้องกันไม่ให้มีมิจฉาชีพมาใช้แพลตฟอร์มในการหลอกลวงทางออนไลน์เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ที่มา : etda

You may have missed

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า