Google และ Samsung แนะวิธีการป้องกันตัวจากสแกมเมอร์ และมิจฉาชีพออนไลน์ใน Android

Google และ Samsung ร่วมกันจัดงาน ‘Ask the Expert’ แนะวิธีการป้องกันตัวจากสแกมเมอร์ และมิจฉาชีพออนไลน์สำหรับผู้ใช้ Android

โดยผู้ที่มาให้ความรู้คือคุณยูจีน ไลเดอร์แมน (Eugene Liderman) ผู้อำนวยการด้านแผนการความปลอดภัยของ Android ที่ Google และคุณทิโมธี ทัน (Timothy Tan) หัวหน้าฝ่ายธุรกิจองค์กร และการตลาดผลิตภัณฑ์ของ Samsung โดยพวกเขากล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยเอง เป็นพื้นที่ที่เกิดปัญหาเรื่อง Scammer และมิจฉาชีพออนไลน์อยู่ตลอด โดยเจอทั้ง Phishing (ดักจับข้อมูล, หลอกให้กรอกข้อมูล) , Job (หลอกให้ไปทำงาน) , E-commerce (การขายสินค้าปลอม) ไปจนถึงการดาวน์โหลดแอปฯ ที่หลอกขโมยข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกด้วย

คุณยูจีนอธิบายเพิ่มเติมว่า ระบบปฏิบัติการ Android นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยอยู่หลายชั้นด้วยกัน โดยประกอบไปด้วย

  • Spam detection in Messages – เมื่อ Scammer ส่งข้อความที่หลอกลวง หรือ Scam เข้ามาผ่านแอปฯ Messages มาหาผู้ใช้ ก็จะมีคำเตือนทันทีว่านี่คือ Scam แล้วใส่โฟลเดอร์ Scam แทน เพื่อไม่ให้คนถูกหลอกและเผลอไปกด
  • Safe Browsing – ตรวจสอบว่าเว็บไหนใช้ได้จริง หรือเว็บไซต์ไหนเป็นเว็บไซค์ที่หลอกให้เรากลอกข้อมูล โดยถ้าเราใช้เบราวเซอร์ Chrome ก็จะมีการแยกเว็บไซต์เหล่านี้ไว้ให้ก่อนในชั้นแรก
  • Chrome APK Warning  – เวลาโหลดไฟล์นามสกุล APK (หรือไฟล์ลงแอปพลิเคชันใน Android) Chrome จะตือนก่อนว่านี่อาจจะเป็นแอปฯที่อันตรายก็ได้
  • Sideloading Alert – แจ้งเตือนว่าการ ‘Sideloading’ หรือการลงแอปฯ นอก Google Play Store ปกตินั้น อาจทำให้สมาร์ตโฟนของเราไม่ปลอดภัยได้
  • Google Play Protect – ป้องกันแอปฯ Scam ที่อยู่ใน Google Play ด้วยการเช็คแอปฯ ต่าง ๆ ในร้านค้าอยู่เรื่อย ๆ และเปลี่ยนวิธีเช็คบ่อย ๆ เพราะ Scammer จะหาทางหลบอยู่เรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน (เช่นการเปลี่ยน Payload ตัวแอปฯ ให้จับไม่ได้)

ในขณะที่คุณทิโมธีได้เสริมว่า Samsung Knox นั้นคือระบบความปลอดภัยของทางฝั่ง Samsung เอง ที่ได้มีอยู่ในสมาร์ตโฟน Samsung มานานหลายปีแล้ว (ตั้งแต่ปี 2013) ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยระดับองค์กร เพราะระดับลูกค้าเองก็เจออันตรายที่ไม่แพ้องค์กรเช่นกัน ในขณะเดียวกัน การดักจับข้อมูลก็อันตรายต่อทั้งระดับลูกค้าและระดับองค์กร ดังนั้นการเข้ามาของ Samsung Knox บนสมาร์ตโฟน Samsung จะช่วยป้องกันไม่ให้สมาร์ตโฟนเจอกับอันตรายจากไซเบอร์ได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ ทั้งสองคนยังได้สรุปถึงสิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับความปลอดภัยใน Android เช่น Android เป็นระบบเปิด แปลว่าปลอดภัยน้อยกว่า ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ได้มีระบบป้องกันอยู่ภายในตัวแล้ว แถมการเป็นระบบเปิดจะทำให้คนวิจัย และพัฒนาระบบป้องกันได้ดีกว่าด้วย หรืออย่าง สมาร์ตโฟน Android จะเจอสแกมมากกว่า ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ว่าเราจะใช้ระบบปฏิบัติการใด ก็สามารถเจอกับสแกม หรือถูกหลอกให้กรอกข้อมูล, ดาวน์โหลดแอปฯ หรืออื่น ๆ ได้ทั้งนั้น ดังนั้น การดาวน์โหลดแอปฯให้ถูกร้านค้าจะเป็นการดีกว่านั่นเอง

The post Google และ Samsung แนะวิธีการป้องกันตัวจากสแกมเมอร์ และมิจฉาชีพออนไลน์ใน Android appeared first on #beartai.

You may have missed

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า