นักวิทย์รัสเซียและจีนประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลแบบควอนตัมผ่านดาวเทียม

นักวิทยาศาสตร์จากรัสเซียและจีนประสบความสำเร็จในการทดสอบการสื่อสารควอนตัมผ่านดาวเทียมหากัน ถือเป็นก้าวสำคัญในการสื่อสารแบบเข้ารหัสที่ยากต่อการแฮก

การทดสอบครั้งนี้ใช้ดาวเทียมม่อจื๊อ ดาวเทียมควอนตัมของจีนที่ถูกปล่อยขึ้นไปชั้นบรรยากาศตั้งแต่ปี 2016 และอยู่ในการดูแลของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน

ระยะทางของการสื่อสารไกลถึง 2,300 ไมล์ (ประมาณ 3,700 กิโลเมตร) ระหว่างสถานีภาคพื้นในเมืองซเวนีกอรอด ใกล้กับกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย และสถานีภาคพื้นใกล้กับเมืองอุรุมชี ในมณฑลซินเจียงของจีน

การสื่อสารในที่อยู่ในการทดสอบเป็นการส่งภาพ 2 ภาพที่เข้ารหัสด้วยกุญแจควอนตัม (Quantum key) โดยส่งจากสถานีภาคพื้นซเวนีกอรอด ไปยังดาวเทียมม่อจื๊อในชั้นวงโคจรของโลก และส่งต่อไปยังสถานีในจีน

ทั้งนี้ ดาวเทียมม่อจื๊อน่าจะกลายเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารควอนตัมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ศาสตราจารย์ มาร์โก ลูกามารินี (Marco Lucamarini) แห่งมหาวิทยาลัยยอร์ก ชี้ว่าการสื่อสารแบบควอนตัมใช้อนุภาพของแสงในการส่งข้อมูลซึ่งอยู่สถานะที่เปราะบางอย่างมาก วิธีการนี้ป้องกันการขโมยข้อมูล แต่ก็จำกัดระยะทางที่ข้อมูลสามารถเดินทางด้วยเช่นกัน

ที่มา TechSpot

The post นักวิทย์รัสเซียและจีนประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลแบบควอนตัมผ่านดาวเทียม appeared first on #beartai.

You may have missed

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า